วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

โรคกรดไหลย้อน



น้ำหนักลด-กลืนเจ็บ-อาเจียนบ่อย รีบพบแพทย์ทันที
เรื่อง "โรคกรดไหลย้อน" เป็นเรื่องที่ต้องคุยกันยาวหน่อย เพราะเป็นโรคที่กำลังฮิตกันเหลือเกิน กับผู้คนที่ใช้ชีวิตในเมือง สัปดาห์นี้มาทำความรู้จักกันก่อนว่าคืออะไร?

โรคที่เกิดจากความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการมีของเห ลวอะไรก็ได้ (ส่วนใหญ่เป็น กรด 80 - 90% จึงเรียกว่า "โรคกรดไหลย้อน" ส่วนน้อยเป็นด่าง) ที่อยู่ในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมาสู่หลอดอาหาร ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีร่องรอยของการอักเสบของหลอดอาหา รก็ได้
ในช่วง 5 - 10 ปีที่ผ่านมา โรคกรดไหลย้อน (Gastro-Esophageal Reflux Disease: GERD) เป็น โรคที่พบได้บ่อยมากขึ้นในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย โดยพบความชุกเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า คือ ประมาณร้อยละ 10 - 15 ของผู้ป่วยที่มาด้วยอาการจุกเสียดแน่นท้อง (Dyspepsia)

แม้ในปัจจุบันจะมียาที่ให้ผลในการรักษาค่อนข้างดีแต่ ลักษณะโรคมักเรื้อรัง และ เป็นๆ หายๆ นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่เป็นนานเป็นสิบปี บางรายอาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งของหลอดอาหารส่วนปลายไ ด้อีกด้วย

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
โดยปกติร่างกายจะมีกลไกป้องกันไม่ให้อาหารและกรดในกร ะเพาะอาหารไหลย้อนกลับ ขึ้น ไปสู่บริเวณหลอดอาหาร ซึ่งกลไกหนึ่งคือ การทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดที่บริเวณส่วนต่อระหว่างก ระเพาะอาหาร และหลอดอาหาร(Lower esophagesl sphincter) ซึ่งจะทำหน้าที่คล้ายประตูป้องกันไม่ให้อาหารและกรดห รือด่างในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนกลับเข้าไปในหลอดอาหาร
แต่ในผู้ป่วยที่เป็นโรคกรดไหลย้อน กล้ามเนื้อหูรูดนี้จะหย่อนตัวลงทำให้กรดในกระเพาะอาห ารไหลกลับเข้าไปในหลอด อาหารได้โดยง่าย ทำให้มีอาการและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา หลอดอาหารส่วนปลายผิดปกติ หลอดอาหารส่วนปลายมีการเปลี่ยนแปลงของเซลส์ไป
ซึ่งสามารถกลายเป็นมะเร็งได้ต่อไปในอนาคต เรียกว่า "Barrett s esophagus" หลอดอาหารส่วนปลายมีการอักเสบเรื้อรังจนมีพังผืดเกิด ขึ้น ทำให้กลืนติดหรือกลืนลำบากได้

อาการ
หากคุณมีอาการเหล่านี้ พึงระวังไว้ว่าน่าจะมีภาวการณ์เป็นโรคกรดไหลย้อนได้ อาทิ อาการแสบยอดอก (Heartburn) ขย้อนหรือสำรอก (Regurgitation) รู้สึกเปรี้ยว (กรด) หรือขม (ด่าง) ในปาก หรือ บริเวณช่องคอด้านหลัง มักมีอาการเรอ, จุก, เสียด, แน่น มักมีอาการเจ็บบริเวณหน้าอก มักตื่นในเวลากลางคืน และ รู้สึกเปรี้ยวหรือขมในปาก

ส่วนอาการต่างๆ ต่อไปนี้ อาจไม่จำเพาะว่าจะเป็นโรคกรดไหลย้อน แต่เป็นอาการที่อาจเป็นผลมาจากโรคกรดไหลย้อน ได้แก่
1. อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอเรื้อรัง โดยเฉพาะต้องตื่นมาไอตอนกลางคืน เป็นต้น
2. อาการทางระบบ หู คอ จมูก เช่น มีเสียงแหบ หรือ เจ็บคอในตอนเช้า, มีกลิ่นปาก เป็นต้น
ก่อนจะปิดท้ายด้วยการวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน ทำได้อย่างไร? หลังจากแพทย์ซักประวัติ และตรวจร่างกายแล้วพบว่า ท่านมีข้อบ่งชี้ว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน เป็นอาการเตือนหรือสัญญาณอันตราย เช่น
1. กลืนลำบาก
2. กลืนเจ็บ
3. อาเจียนบ่อยๆ
4. อาเจียนเป็นเลือด หรือมีอาการซีด
5. น้ำหนักลด
ท่านควรให้แพทย์สืบค้นเพิ่มเติมทันที ด้วยการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น เพราะอาจมีเนื้องอก หรือมะเร็งหลอดอาหาร หรือกระเพาะอาหารซ่อนอยู่

ถ้าไม่มีภาวะดังกล่าวแพทย์ก็จะให้ยาในกลุ่ม Proton Pump Inhibitor ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในการสร้างก รดในกระเพาะอาหารโดยตรง ทำให้ลดปริมาณกรดที่จะไหลย้อนกลับเข้าไปสู่หลอดอาหาร



เปลี่ยนนิสัย แก้โรคกรดไหลย้อน

อันดับแรก กินน้อย แต่กินบ่อย เนื่องจากการรับประทานอาหารแต่เพียงนิดในหลายหนต่อวัน จะลดความอิ่มให้ลดน้อยลงกว่าการบริโภคมื้อใหญ่ทั้ง 3 หนต่อวัน เพราะการกินอาหารจนอิ่ม จะมีผลต่อการเปิด-ปิดของช่องทางเดินอาหารกับกระเพาะให้เปิดออก และดันกรดจากกระเพาะอาหารขึ้นมาตามหลอดอาหาร ยิ่งกินข้าวดึกและเข้านอนทันทียิ่งเสี่ยงต่อการเกิดกรดไหลย้อนมากขึ้น

ขั้นที่ 2 งดหรือลดอาหารและเครื่องดื่ม ที่ทำจากช็อกโกแลต กาเฟอีน อาหารที่มีรสเผ็ดจัด เนื้อแดงไขมันสูง มันฝรั่งทอด ผลไม้รสเปรี้ยวจัด หอมหัวใหญ่ดิบ มะเขือเทศ เนยแข็ง และสะระแหน่ ของพวกนี้จะยิ่งทำให้อาการกรดไหลย้อนรุนแรงมากขึ้น ควรเปลี่ยนมารับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ เส้นใยมาก ๆ ที่มีอยู่ในธัญพืช ผลไม้ ผัก และเนื้อส่วนที่มีไขมันต่ำจะดีกว่า

ขั้นที่ 3 เลิกดื่มแอลกอฮอล์ให้ได้ ยิ่งถ้าคุณดื่มประจำจนติดเป็นนิสัยด้วยแล้ว ยิ่งต้องเลิกให้ได้ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารเปิดออกและปล่อย ให้กรดจากกระเพาะอาหารขึ้นมาที่หลอดอาหารได้สะดวกขึ้น เรื่องนี้มีผลวิจัยทางการแพทย์ที่เผยแพร่ในวารสารการแพทย์อเมริกันเมื่อปี 2542 ยืนยันว่า ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ทุกวันจะมีอาการจุกเสียดแน่นท้องมากกว่าคนทั่วไป และอาการกรดไหลย้อนจะเพิ่มระดับความรุนแรง ตามปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มในแต่ละสัปดาห์

ขั้นที่ 4 คุณต้องลดน้ำหนัก มีการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 1 หมื่นคน พบว่าคนที่เป็นโรคอ้วนนั้นมีอาการจุกเสียดแน่นท้องและมีการไหลย้อนของกรด มากกว่าคนทั่วไปถึง 3 เท่า

ขั้นที่ 5 อย่าใส่เสื้อผ้าที่รัดตึงจนเกินไป โดยเฉพาะการรัดเข็มขัดจนแน่นท้อง ยิ่งจะดันให้กรดขึ้นมาอยู่ที่หลอดอาหารมากขึ้น

ส่วนอีก 2 วิธี คือ การนอนและการเลิกสูบบุหรี่ ควรนอนโดย ยกเตียงด้านหัวให้สูงประมาณ 6-8 นิ้ว งานวิจัยระบุว่า ความสูงของศีรษะในระหว่างการนอนหลับ ระดับนี้จะช่วยชะลอกรดจากกระเพาะอาหารออกจากหลอดอาหารได้เร็วขึ้น แต่ที่สำคัญห้ามกินแล้วนอนโดยเด็ดขาด เพราะนิสัยแบบนี้ยิ่งทำให้อาการรุนแรงขึ้น

credit : pooyingnaka.com